วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในช่วงปัจจุบัน

-    การขึ้นครองอำนาจโดยทหารได้ดำเนินนโยบายอิงกับสหรัฐอเมริกาและต่อต้านคอมมิวนิสต์ ไทยได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในโครงการทางเศรษฐกิจ การทหาร
-  รัฐบาลชุดจอมพลป.พิบูลสงครามดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และสร้างความสัมพันธ์กับ จีนทำให้สหรัฐอเมริกาสนับสนุน    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจ ในวันที่16 กันยายน 2500
-   ไทยและอเมริกาออกแถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์ในพ.ศ.2505นโยบายการต่างประเทศของไทยจึงกลายเป็นเครื่องมือปฏิบัติของอเมริกันในแถบอินโดจีน และดึงไทยเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม       


ผลกระทบของสงครามเวียดนาม  
       1.ด้านเศรษฐกิจ มีการนำเข้าสินค้าอำนวยความสะดวกทำให้ไทยเสียดุลการค้า 
  2.ด้านสังคม มีทหารชาวอเมริกันในไทยทำให้ไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมา     
  หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา รัฐบาลไทยลดการพึ่งพาสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังสอดคล้องกันเพราะอเมริกาเปิดความสัมพันธ์กับจีนเพื่อต่อต้านโซเวียต 
  ในช่วงสงครามเย็นรัฐบาลไทยร่วมกับฟิลิปปินส์และมาเลเซียก่อตั้งสมาคมอาสา และต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของ อาเซียน และได้เน้นการส่งเสริมไมตรีระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   
  นโยบายต่างประเทศในช่วงหลังพ.ศ. 2531 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน มุ่งเน้นความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และได้เข้าร่วมเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปคด้วย   
  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับจีนในสมัยปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่า จีนจะกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในอนาคตข้างหน้า จีนมีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว ไทยจึงพยายามที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับจีนมากขึ้นโดยเสริมไมตรีกับจีนในด้านต่างๆเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ