ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548
1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
(1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน ความร่วมมือไตรภาคี ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรม
(2) ชักชวนฝรั่งเศสมาลงทุนในโครงการ Mega-Projects ของไทย ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสนใจโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติและระบบขนส่งมวลชน
(3) การลงนามในความตกลงและเอกสารต่างๆ จำนวน 12 ฉบับ แบ่งเป็น ความตกลงภาครัฐ 7 ฉบับ และภาคเอกชน 5 ฉบับ
1.3 ประธานาธิบดีจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สมัยที่ 2 ในปี 2550 และมีการคาดคะเนว่า ประธานาธิบดีจะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งปธน.สมัยที่ 3 เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ และอาจสนับสนุนให้ นายกรัฐมนตรี Dominique de Villepin ซึ่งถือเป็นทายาททางการเมืองลงสมัครแทนเพื่อแข่งขันกับนาย Nicolas Sarkozy รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่จากเหตุการณ์ประท้วงร่างกม.แรงงาน CPE (ซึ่งอนุญาตให้นายจ้างสามารถปลดลูกจ้างอายุต่ำกว่า 26 ปีได้ในช่วง 2 ปีแรกของการทำงาน โดยให้ถือเป็นช่วงทดลองงานและไม่ต้องมีการอธิบายหรือแจ้งล่วงหน้าดังเช่นกฎหมายแรงงานทั่วไป) ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี de Villepin ได้ส่งผลให้คะแนนนิยมในตัว นายกรัฐมนตรี ลดลงอย่างมากและอาจทำให้ ประธานาธิบดีไม่มั่นใจว่าสมควรที่จะให้การสนับสนุนต่อไปหรือไม่
2. ความสัมพันธ์ไทย – ฝรั่งเศสโดยรวม
2.1 แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)
(1) ฝรั่งเศสได้หันมามองไทยด้วยสายตาใหม่ โดยการยกระดับสถานะและให้ความสำคัญแก่ไทยมากขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสต่อ ASEAN ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากผลสำเร็จของการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของ นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค.46 อันนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแผน 5 ปี (2547-2551) และลงนามโดย รมว.กต.ของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.47
(2) แผนปฏิบัติการฯ ครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ทุกสาขา อาทิ ด้านการทหาร เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาและการต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน มีประเด็นที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 70
2.4 เทศกาลวัฒนธรรม ฝรั่งเศสได้จัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสในไทย ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 มิ.ย. -14 ก.ค.47 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-24 มิ.ย.48 และกำหนดจะจัดครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21 มิ.ย.- 8 ก.ค.49 ส่วนไทยกำหนดจะจัดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-31 ต.ค.49 ที่กรุงปารีสและเมืองลียง โดยได้ขอให้งานดังกล่าวอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่งขณะนี้ ยังรอผลการพิจารณาของฝ่ายฝรั่งเศส
2.5 ความร่วมมือด้านแฟชั่น (1) มีการลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(2) ไทยกำลังพิจารณาจัดตั้ง Thailand Fashion House ที่กรุงปารีส
2.6 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการขยายมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี (ปี 2551) โดยได้ตกลงกันให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสำหรับยกร่าง Roadmap ของแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจและการค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว (มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.49) และให้มีการเพิ่มจำนวนวิสาหกิจฝรั่งเศส ในไทยจากจำนวน 350 บริษัท เป็นจำนวน 750 บริษัท ภายในระยะเวลา 3 ปี
2.7 ตัวเลขการค้า 2548 รวม 3,166.6 ล้าน USD ไทยขาดดุล 563.4 ล้าน USD
2.8 ฝรั่งเศสลงทุนในไทย 2548 14 โครงการ มูลค่ารวม 410 ล้านบาท
2.9 ความร่วมมือไตรภาคี มีการลงนามในข้อตกลงจัดตั้งสำนักงานองค์กรเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลฝรั่งเศส (Agence Française de Développement- AFD) ในไทย เมื่อวันที่ 18 ก.พ.49 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะให้มีความร่วมมือในลาวและมาดากัสการ์ก่อนเป็นอันดับแรก
2.10 UNSG ฝรั่งเศสรับที่จะพิจารณาผู้สมัครของไทยอย่างจริงจัง (seriously consider)