วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์

 การส่งออก ในปี 2549 การส่งออกของไทยไปสวิตเซอร์แลนด์มีมูลค่า917 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอันดับ 7 รองลงจาก สหรัฐฯ ฮ่องกง อิสราเอล ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม และสหราชอาณาจักร) นาฬิกาและส่วนประกอบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และสิ่งทออื่นๆ


  ด้านเศรษฐกิจ
1 การค้า
สวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 21 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับ 1ของไทยในกลุ่มประเทศ EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนส์ไตน์) ส่วนประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ รองจากสิงคโปร์ในกลุ่มอาเซียน 
สวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ไทย โดยยกเว้นและลดหย่อนอากรขาเข้า ตั้งแต่ปี 2525 มีการจัดตั้ง Swiss-Thai Chamber of Commerce ขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อปี 2535 และสวิตเซอร์แลนด์จัดตั้ง South-East Asian Chamber of Commerce ขึ้นที่นครซูริค เมื่อปี 2537 ปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-EFTA ซึ่งได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการแล้ว 2 รอบ และมีการเจรจาทางการอีก 2 รอบ ภายหลังการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ฝ่ายไทยได้ขอชะลอการเจรจาออกไปก่อน
การค้ารวม การค้าในปี 2549 มีมูลค่า 2,217 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
การนำเข้า ในปี 2549 การนำเข้ามีมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยอัญมณีเงินแท่งและทองคำ นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ แผงวงจรไฟฟ้า ธุรกรรมพิเศษ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์
สินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์เกือบทั้งหมด รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น รองเท้าสิ่งทอ ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรหรือถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำตามสิทธิ GSP
นอกจากนี้ ไทยและสวิตเซอร์แลนด์อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลง เขตการค้าเสรี (FTA) ในกรอบความตกลงการค้าเสรีไทย - สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
(EFTA : สมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์) 

2. การลงทุน
       ชาวสวิสเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2409 และได้ก่อตั้งบริษัท Jucker, Sigg & Co. ขึ้นในปี 2425 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Berli Jucker ปัจจุบันมีบริษัทสวิสกว่า 150 บริษัท เข้ามาลงทุนในไทย โดยมีบริษัทชั้นนำหลายบริษัท อาทิ Diethelm Keller (ธุรกิจท่องเที่ยว), ETA (Swatch Group - ผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา), Nestlé (อุตสาหกรรมอาหาร), Holcim (ปูนซีเมนต์นครหลวง), Roche และNovartis (ยาและเวชภัณฑ์) ABB (ผลิตเครื่องจักรให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) เป็นต้น
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ในไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของการลงทุนจากกลุ่มประเทศยุโรป (รองลงมาจากสหราชอาณาจักรและเยอรมนี) และเป็นอันดับที่ 10 ของการลงทุนจากต่างประเทศ มีโครงการลงทุนจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 131 โครงการ รวมมูลค่า 27,000 ล้านบาท โดยตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา มี 57 โครงการ มูลค่า 14,170.4 ล้านบาท ในปี 2548 สวิสลงทุนในไทย 20 โครงการเป็นมูลค่า 16,124 ล้านบาท สำหรับ 10 เดือนแรกของปี 2549 สวิสลงทุนในไทย 3,663 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเบา การผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
3 การท่องเที่ยว
     นักท่องเที่ยวสวิสที่เดินทางมาไทยมีอัตราการเติบโตในเกณฑ์ดีมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ยกเว้นในปี 2540 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นักท่องเที่ยวสวิสเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และใช้เวลาพำนักในไทยในระยะยาว นำรายได้จำนวนมากเข้าประเทศ (ประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท) จำนวนนักท่องเที่ยวสวิสจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรป และในแง่ของการท่องเที่ยวระยะไกลจากสวิตเซอร์แลนด์ (long distance destination) ประเทศไทยได้รับความนิยมมากเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2548 นักท่องเที่ยวสวิสมีจำนวน 125,694 คน สำหรับนักท่องเที่ยวไทยไปสวิสมีจำนวน 21,522 คน ทั้งนี้ การบินไทย มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ และซูริคทุกวัน และสายการบิน Swiss International Airlines มีเที่ยวบิน ซูริค-กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ 6 เที่ยวบิน/สัปดาห์


  
การบิน

          สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2527 เพื่อใช้เป็นความตกลงฉบับแม่บทในความสัมพันธ์ระหว่างกันด้านการบิน โดยทั้งสองฝ่ายได้พบปะหารือเพื่อตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับการบินระหว่างกันมาโดยตลอด 
         ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงฉบับใหม่ขึ้นทดแทนฉบับเก่า โดยได้มีการเจรจาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาช่วงเวลาเหมาะสมเพื่อลงนามต่อไป

  สังคมและวัฒนธรรม
      ปัจจุบัน มีคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ 12,000 คน เป็นหญิง ร้อยละ 80ชาย ร้อยละ 20 ส่วนใหญ่สมรสกับชาวสวิส เป็นแม่บ้านหรือเปิดร้านอาหารไทย มีวัดไทยในสวิตเซอร์แลนด์ 3 แห่ง สมาคมไทย 12 สมาคม และร้านอาหารและร้านขายสินค้าไทย 100 ร้าน
      สวิตเซอร์แลนด์ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูหมู่บ้าน 3 แห่ง ที่จังหวัดพังงา ที่ประสบธรณีพิบัติภัย โดยบูรณะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งจัดหาเครื่องมือประกอบอาชีพให้แก่หมู่บ้านดังกล่าว