วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
  ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในความร่วมมือในช่วงเหตุการณ์คลื่นสึนามิ โดยไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ และนานาชาติโดยอนุญาตให้ใช้อู่ตะเภาเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยในภูมิภาค ขณะที่ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนทั้งนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ อาทิ การแสดงความเสียใจของบุคคลระดับสูง ตลอดจน การส่งอากาศยาน เวชภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่นิติเวช มาให้ความช่วยเหลือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มอบหมายให้อดีตประธานาธิบดี Bush และ Clinton เดินทางเยือนไทยและประเทศที่ประสบภัยอื่นๆ เพื่อสำรวจความเสียหายและระดมความช่วยเหลือจากภาคเอกชนสหรัฐฯ ซึ่งได้จัดให้มีการประชุม Private Sector on Post-Tsunami Reconstruction and Rehabilitation (PSS) ขึ้นเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม2548 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย
ความสัมพันธ์ทั่วไป
1 ด้านการทูต
ไทยและสหรัฐฯ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี2376 ปัจจุบันไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และมีสถานกงสุลใหญ่ 3 แห่ง คือ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่

2 ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาดำเนินไปด้วยความราบรื่น โดยเฉพาะความร่วมมือทางการทหารและความมั่นคงรวมทั้ง โดยเมื่อปี 2546 สหรัฐฯ ได้ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต (Major Non NATO Ally – MNNA) ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กองทัพไทยสามารถจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเข้าถึงเทคโนโลยีทางการทหารต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ได้ นอกจากนั้น ไทยกับสหรัฐฯ ยังมีการฝึกซ้อมร่วม/ผสม Cobra Gold ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกร่วมและผสมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศที่ร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากสหประชาชาติ โดยในการฝึกCobra Gold 2005 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติ อันเป็นผลจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547
 
อนึ่ง จากการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่ประสบผลสำเร็จของไทย สหรัฐฯ ได้ประกาศถอนชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและ/หรือทางผ่านสำคัญของยาเสพติดเมื่อปี 2547
  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยผู้นำรัฐบาลทั้งสองได้ตกลงที่จะจัดทำ Plan of Action และให้มีความพยายามอย่างแข็งขันเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ภายในปี 2549 ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค อาทิ อาเซียน และการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
  4 ด้านการลงทุน
  3 ด้านการค้า
  สหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยการค้าระหว่างกันในปี 2547 สูงถึง 22,732 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.88) โดยไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ 15,516ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นำเข้า 7,215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 8,301 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ อาหารกระป๋องและแปรรูป อัญมณี ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องไฟฟ้า แผงวงจร และกุ้งสดแช่แข็ง
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากสหรัฐฯ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมีการถ่ายภาพ เงินแท่ง เส้นใยในการทอ
ประเทศไทยกับสหรัฐฯ เริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ เมื่อปี 2547 โดยได้มีการเจรจาแล้ว 6 รอบ โดยรอบล่าสุดจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 9-13มกราคม 2549 โดยหัวข้อการหารือในการเจรจา รวมถึงเรื่องการเปิดตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม เกษตร สิ่งทอ ภาคบริการ การเงิน และการลงทุน มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการสุข อนามัยพืชและสัตว์ อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เรื่องศุลกากร การเคลื่อนย้ายบุคลากร แรงงานและสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างขีดความสามารถทางการค้า เป็นต้น


  จากสถิติเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิที่จัดเก็บโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในปี 2547 มีจํ านวนทั้งสิ้น 15,981 ล้านบาท เงินลงทุนสุทธิจากสหรัฐอเมริกาในปี 2547คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,204 ล้านบาท นอกจากนี้ จากสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากสํ านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการอนุมัติในปี 2547 มีจํ านวนทั้งสิ้น37 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสุทธิ 30,397 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับสามรองจาก ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป